วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่างหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ตัวอย่างหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร



ตัวอย่างหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    ตัวอย่างหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    1. จาร หรือ จารึก
เป็นหลักฐานที่บันทึกลงวัสดุคงทน เช่น แผ่นหิน ทองคำ แผ่นเงิน เป็นต้น นักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญกับหลักฐานประเภทนี้มาก

ตัวอย่างจารึกที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    2.  ตำนาน
เป็นหลักฐานประเภทบอกเล่า และจดบันทึกไว้ในภายหลัง มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์น้อย ตำนานที่สำคัญได้แก่ ตำนานมูลศาสนา ตำนานจามเทวีวงศ์
      3.  พระราชพงศาวดาร
เป็นหลักฐานบันทึกเรื่องราวของพระมหากษัตริย์  เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ 5
ฉบับที่โดดเด่นได้แก่  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

      4. จดหมายเหตุ

             เป็นหลักฐานที่ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์และลำดับเวลา โดยบันทึกเพียงเหตุการณ์เดียว
ตัวอย่าง เช่น จดหมายเหตุลา ลูแบร์
     5.  เอกสารส่วนบุคคล
              เป็นบันทึกส่วนตัวของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รู้เห็นในเหตุการณ์นั้นๆโดยตรง เอกสารส่วนบุคคลที่สำคัญคือ สาสน์สมเด็จ
       6. หนังสือราชการ
 เป็นเอกสารเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชโองการ หมายรับสั่ง เป็นต้น

7.  บันทึกชาวต่างชาติ
                       เป็นบันทึกที่ชาวต่างชาติที่เขียนเกี่ยวกับเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน และ ชาวตะวันตก เช่นเรื่องเล่ากรุงสยามของบาทหลวงปาเลอกัวซ์
     8. วรรณกรรม
                     เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิต พิธีกรรม ค่านิยม ความเชื่อ หรือความคิดของคนสมัยนั้นเช่น ขุนช้างขุนแผนพระอภัยมณี เป็นต้น


ประเภทของหลักฐาน(2)

    ประเภทของหลักฐาน(2)

   ·แบ่งตามลักษณะของหลักฐาน
๑. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร


                         คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น จารึก ตำนาน พระราชพงศาวดาร บันทึกความทรงจำ เอกสารทางราชการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม
๒. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
     คือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี เช่น รูปเคารพ มหาวิหาร โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

ประเภทของหลักฐาน(1)

ประเภทของหลักฐาน
  •  แบ่งตามความสำคัญของหลักฐาน

๑. หลักฐานชั้นต้น หรือ ชั้นปฐมภูมิ
             คือ หลักฐานที่บันทึกโดยผู้เกี่ยวข้องโดยตรง หรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สร้างในสมัยนั้น
๒. หลักฐานชั้นรอง หรือ ชั้นทุติยภูมิ
                         คือ หลักฐานที่ผู้บันทึกได้รับรู้เหตุการณ์จากการสื่อสารของบุคคลอื่นมาอีกทอดหนึ่ง รวมทั้งงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น


ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หมายถึง ร่องรอยจากพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ได้แก่ ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การสร้างสรรค์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ ความคิด โลกทัศน์ อารมณ์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต รวมทั้งสิ่งต่างๆตามธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมมนุษย์


ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกคำบอกเล่า จารึก เอกสารราชการ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งหลักฐานต่างๆนั้น สามารถบอกเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ความเชื่อในลัทธิศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมนั้นๆ







บทนำ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (historical evidence)

เสนอ

อาจารย์ปรางค์สุวรรณ
  ศักดิ์โสภณกุล

จัดทำโดย

นางสาวลวัศย์สร    พลายสวาท ม.6.3  เลขที่  32

นางสาวจันทน์ชะเอม   แหลมคม  ม.6.3  เลขที่  43

รายวิชา 
ส33102
สังคมศึกษาศาสนา และ วัฒนธรรม
โรงเรียนสตรีวิทยา

ปีการศึกษา 2557